นโยบายและแผน

ประกาศ สานักงานสาธารณสุขอาเภอเมืองอุบลราชธานี เรื่อง นโยบายการบริหารราชการ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖8 เพื่อให้การบริหารราชการของสานักงานสาธารณสุขอาเภอเมืองอุบลราชธานี เป็นไปตามหลักธรรมมาภิบาล โดยยึดหลักประชาชนเป็นสาคัญ อานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการประชาชนตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนปี พ.ศ.2551 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม สาธารณสุขอาเภอเมืองอุบลราชธานี จึงขอประกาศ นโยบายการบริหารราชการ ดังนี้ ๑.หลักคุณธรรม (Merit-based) มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ความสามารถ ตามจรรยาวิชาชีพ ด้วยความเสียสละ ประพฤติ ปฏิบัติตนมิให้เสื่อมเสียแก่ราชการ มีความอุตสาหะ มีคุณธรรม ศีลธรรมอันดี ปกครองบุคลากรด้วยธรรมาภิบาล บริหารงานและปฏิบัติงานบนหลักแห่งความเสมอภาค ให้เกียรติซึ่งกันและกัน เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยคานึงถึง ความเท่าเทียมระหว่างเพศ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารงานทรัพยากรบุคคล มีความโปร่งใส แสวงหาฉันทามติ รับผิดชอบ ยึดมั่นในความถูกต้อง ความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ปฏิบัติกับ บุคลากรทุกคนเท่าเทียมกันเพื่อประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการบริหารงานสาธารณสุข ๒.หลักสมรรถนะ (Commetency-based) ส่งเสริม สนับสนุนให้ข้าราชการและบุคลากร มีสมรรถนะหลักในข้าราชการพลเรือน ประกอบด้วย ๑. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation – ACH) ๒. บริการที่ดี (Service Mind - SERV) ๓. การสั่งสมความ เชียวชาญในงานอาชีพ (Expertise - EXP) ๔. การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม (Integrity - ING) และ ๕. การทางานเป็นทีม (Teamwork - TW) รวมถึงวิเคราะห์อัตรากาลังแต่ละสายงานตามกรอบโครงสร้างเพื่อ ผลักดันให้ได้มาซึ่งบุคลากรในตาแหน่งที่ขาดแคลน ไม่เพียงพอ 3.หลักผลงาน (Performance-based) ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรได้รับการพัฒนาทางด้านบริหาร บริการวิชาการที่เหมาะสมกับตาแหน่ง และได้ลงนาม รับทราบการปฏิบัติราชการตามคารับรองการปฏิบัติราชการทุกปีงบประมาณ ตอบสนองนโยบายการ พัฒนาสาธารณสุขและสอดคล้องกับสมรรถนะ และตาแหน่งแต่ละบุคคล ดาเนินการพิจารณาความดีความชอบ โดย คณะกรรมการกลั่นกรองผลการปฏิบัติราชการและคานึงผลลัพธ์การปฏิบัติราชการ สมรรถนะหลัก เป็นสาคัญ ( 2 ) ๔.หลักการกระจายอานาจและความรับผิดชอบ (HR Decentralization) สนับสนุนให้มีคณะกรรมการบริหารสาธารณสุขระดับอาเภอเมืองอุบลราชธานี เพื่อดาเนินการกาหนดนโยบายการ บริหารงานสาธารณสุขครอบคลุมบุคลากร งบประมาณ พัสดุ และการบริหารจัดการ โดยคณะกรรมการบริหารสาธารณสุขแบ่งเป็นกลุ่มโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล โดยให้แต่ละกลุ่มโซนคัดเลือกประธานโซน รองประธานโซน เลขาโซน และคณะกรรมการเพื่อดาเนินการบริหารสาธารณสุขระดับพื้นที่ ๕.หลักคุณภาพชีวิตในการทางาน (Quality of work life) ส่งเสริม สร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ดีภายในองค์กร ส่งเสริมความปลอดภัยจากการทางาน บุคลากรอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี สนับสนุนการปฏิบัติราชการทั้งในหน่วยงาน ในส่วนราชการ องค์กรเอกชน และในชุมชน อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณค่าและศักดิ์ศรี ประเมินทักษะ ความรู้ความชานาญ ความถนัด ความเชี่ยวชาญ ประเมิน ความพึงพอใจ ความผูกพันต่อองค์กร วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อพัฒนาส่วนขาด รวมถึงสนับสนุนให้บุคลากรมี ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน (Career path) ยกย่อง ชื่นชม ชมเชยบุคลากรที่ผลการปฏิบัติราชการดีเด่นทั้งใน สถานที่ทางานและที่บ้าน ประกาศ ณ วันที่ 2๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖7 (นายสุทัศน์ สีทน) สาธารณสุขอาเภอเมืองอุบลราชธานี การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2568 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีได้มอบนโยบายการทำงาน โดยกำหนดเป็นวิสัยทัศน์การทำงาน 4 ด้าน นโยบายเน้นหนัก 20 ประเด็น โดยมีวิสัยทัศน์การพัฒนาสาธารณสุขคือ (1) ระบบบริการสุขภาพได้มาตรฐาน (2) บริหารจัดการอย่างโปร่งใส (3) รวมใจภาคีเครือข่าย (4) มุ่งหมายสุขภาวะประชาชน ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนา 4+1 Excellence คือ (1) PP&P Excellence (ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ) (2) Service Excellence (บริการเป็นเลิศ) (3) People Excellence (บุคลากรเป็นเลิศ) (4) Governance Excellence (บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล) (5) Health Economic Excellence (เศรษฐกิจสุขภาพ) นอกจากนั้นภายในเล่มนี้ยังประกอบด้วย Template ตัวชี้วัด Ranking ประจำปีงบประมาณ 2568 จำนวน 69 ตัวชี้วัด ให้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานและรับการประเมินผลงานตามเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัด Ranking พร้อมทั้งการกำหนดห้วงเวลาในการกำกับติดตามและประเมินผล ประจำปีงบประมาณ 2568 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ขอขอบคุณคณะผู้บริหารงานสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข ที่มีส่วนในการปรับปรุงและแก้ไขแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2568 ฉบับนี้ให้มีความสมบูรณ์ และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาด้านสาธารณสุข ให้กับหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด อุบลราชธานี